• ใบอนุญาตทำงาน
  • Thanakrit Law Office
  • รับว่าความ
  • Legal Service
  • จดทะเบียนบริษัท
  • Company Registration
  • เครื่องหมายการค้า
  • Thai Visa
  • Patent Trademark
  • สิทธิบัตร
  • Work Permit
  • ลิขสิทธิ์
  • Patent
  • ขอวีซ่า
  • Copyright
Which KITTILAW.COM do you want to visit?

รับว่าความคดีแพ่ง


มัดจำ(มาตรา 377-378)

มัดจำ คือสิ่งที่ให้ไว้เป็นหลักฐานว่าสัญญานั้นไก้ทำกันขึ้นแล้ว หรือเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา(มาตรา 377) ตามถ้อยคำในมาตรา 377 นี้แสดงว่าทรัพย์สินที่ให้ไว้เป็นมัดจำต้องให้ไว้ในวันทำสัญญา ทรัพย์สินที่สัญญาว่าจะให้ในวันข้างหน้าไม่ใช่มัดจำ(ดูฎีกาที่ 513/2538,1056/2541)

คำพิพากษาฎีกาที่ 513/2538 ถ้อยคำที่ ป. พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า "เมือเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ" แสดงว่า มัดจำต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้ในวันทำสัญญาไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ไว้ในวันอื่น

สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททำขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2532 ระบุข้อความว่า " ในวันทำสัญญานี้ ผู้จะซื้อได้ชำระเงินสดจำนวน 200,000 บาท และในวันที่ 20 มีนาคม 2532 อีกจำนวน 3,300,000 บาท" เงินจำนวน 200,000 บาทเท่านั้นที่เป็นเงินมัดจำ ส่วนเงินจำนวน 3,300,000 บาทนั้นไม่ใช่เงินมัดจำแต่เป็นเพียงการชำระราคาบางส่วนล่วงหน้าซึ่งจะชำระภายหลังวันทำสัญญาเท่านั้น

เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยก็มีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 200,000 บาท ตามข้อสัญญา ส่วนเงินจำนวน 3,300,000 บาท ซึ่งโจทก์มอบให้จำเลยไว้เป็นค่าที่ดินบางส่วนล่วงหน้า จำเลยมีหน้าที่คืนให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่เวลาที่รับเงิน

คำพิพากษาฎีกาที่ 1056/2541 แม้สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยจะระบุว่าโจทก์มอบบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นค่ามัดจำในการซื้อบ้านและที่ดินของจำเลย แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้มอบบ้านดังกล่าวให้แก่จำเลย บ้านและที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่มัดจำ ดังนี้ แม้โจทก์จะผิดสัญญา จำเลยก็ไม่อาจริบบ้านและที่ดินพิพาทได้ อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์และจำเลยต่างต้องโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินให้แก่กันนั้นมีลักษณะเป็นสัญญาแลกเปลี่ยนทรัพย์ ซึ่งต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 518-520 โดยจำเลยอยู่ในฐานะผู้ซื้อบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของตนแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาฎีกาที่ ฎีกาที่ 66/2542 เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งจำเลยใช้เป็นหลักประกันสัญญาจ้างที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคาร ได้มีการระบุไว้ในสัญญาว่าให้ใช้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยตามสัญญา เงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา จำเลยจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง

ข้อสังเกต เงินตามสัญญาค้ำกันที่ธนาคารส่งมอบให้โจทก์ มิใช่เงินมัดจำ โจทก์ จึงไม่มีสิทธิริบตามมาตรา 378(2) จึงต้องนำหักออกจากค่าปรับที่ศาลกำหนดให้